1 2 3 4
ข่าว และ สาระน่ารู้
พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรด เกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
 โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
 พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ ของบุคคล ซึ่ง มาตรา
29 ประกอบกับ มาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 48 และ มาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย
 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ ยินยอมของรัฐสภาดังต่อไปนี้ 
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543"
 
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติ ป้องกันภยันตรายอันเกิดแต่การเล่นมหรสพ พระพุทธศักราช 2464
 
มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองและวรรคสาม ของ มาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
 "สำหรับเขตท้องที่ที่ได้มีการประกาศให้ใช้บังคับผังเมืองรวมตามกฎหมาย " ว่าด้วยการผังเมืองหรือเขตท้องที่ที่ได้เคยมีการประกาศดังกล่าว ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ บังคับตามเขตของผังเมืองรวมนั้นโดยไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
 สำหรับอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคนและโรงมหรสพ ให้ใช้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้บังคับไม่ว่าท้องที่ที่อาคารนั้นตั้งอยู่จะได้มีพระราชกฤษฎีกา ให้ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ก็ตาม"
 
มาตรา 5 ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า "อาคารสูง" คำว่า "อาคารขนาดใหญ่ พิเศษ" คำว่า "อาคารชุมนุมคน" และคำว่า "โรงมหรสพ" ระหว่างบทนิยามคำว่า"อาคาร" กับบทนิยามคำว่า "ที่สาธารณะ" ใน มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
 "อาคารสูง" หมายความว่า อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่ หรือเข้าใช้สอยได้ ที่มีความสูงตั้งแต่ยี่สิบสามเมตรขึ้นไป การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดิน ที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้าง ถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด
 "อาคารขนาดใหญ่พิเศษ" หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่ อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการประเภทเดียวหรือ หลายประเภท โดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่หนึ่งหมื่นตารางเมตรขึ้นไป
 "อาคารชุมนุมคน" หมายความว่า อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่บุคคล อาจเข้าไปภายในเพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่หนึ่งพันตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ห้าร้อยคนขึ้นไป
 "โรงมหรสพ" หมายความว่า อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นสถานที่ สำหรับฉายภาพยนตร์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือการแสดงรื่นเริงอื่นใด และมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปิดให้สาธารณชนเข้าชมการแสดงนั้นเป็นปกติธุระ โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม"
 
มาตรา 6 ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า "ผู้ครอบครองอาคาร" และคำว่า"ผู้ตรวจสอบ" ระหว่างบทนิยามคำว่า "ผู้ดำเนินการ" กับบทนิยามคำว่า "นายตรวจ" ใน มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
 "ผู้ครอบครองอาคาร" หมายความรวมถึง ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุด สำหรับทรัพย์ส่วนกลางตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดด้วย
 "ผู้ตรวจสอบ" หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ควบคุม หรือผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ควบคุมตามกฎหมายว่าด้วย การนั้น แล้วแต่กรณี ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามพระราชบัญญัตินี้"
 
มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า "นายช่าง" และ"เจ้าพนักงานท้องถิ่น" ใน มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 "นายช่าง" หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานของราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้เป็นนายช่าง หรือวิศวกรหรือสถาปนิกซึ่งอธิบดีกรมโยธาธิการ แต่งตั้งให้เป็นนายช่าง
 "เจ้าพนักงานท้องถิ่น" หมายความว่า
 (1) นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล
 (2) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด
 (3) ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับในเขตองค์การ บริหารส่วนตำบล
 (4) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร
 (5) นายกเมืองพัทยา สำหรับในเขตเมืองพัทยา
 (6) ผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่รัฐมนตรีประกาศ " กำหนด สำหรับในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น"
 
มาตรา 8 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 " มาตรา 8 เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย " การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร ตลอดจนการอื่นที่จำเป็น เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคาร มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนด
 (1) ประเภท ลักษณะ แบบ รูปทรง สัดส่วน ขนาด เนื้อที่ และที่ตั้ง ของอาคาร
 (2) การรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทน ตลอดจนลักษณะและ คุณสมบัติของวัสดุที่ใช้
 (3) การรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดิน ที่รองรับอาคาร
 (4) แบบและวิธีการเกี่ยวกับการติดตั้งระบบประปา ก๊าซ ไฟฟ้า เครื่องกล ความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัยหรือภัยพิบัติอย่างอื่น และการป้องกันอันตรายเมื่อมีเหตุชุลมุน วุ่นวาย
 (5) แบบ และจำนวนของห้องน้ำและห้องส้วม
 (6) ระบบการจัดการเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของอาคาร เช่น ระบบการจัด แสงสว่าง การระบายอากาศ การปรับอากาศ การฟอกอากาศ การระบายน้ำ การบำบัด น้ำเสีย และการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
 (7) ลักษณะ ระดับ ความสูง เนื้อที่ของที่ว่างภายนอกอาคาร หรือแนวอาคาร
 (8) ระยะหรือระดับระหว่างอาคารกับอาคารหรือเขตที่ดินของผู้อื่น หรือระหว่างอาคารกับถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ทาง หรือที่สาธารณะ
 (9) พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออก ของรถสำหรับอาคารบางชนิดหรือบางประเภท ตลอดจนลักษณะและขนาดของพื้นที่หรือสิ่งที่ สร้างขึ้นดังกล่าว
 (10) บริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยน การใช้อาคารชนิดใดหรือประเภทใด
 (11) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร
 (12) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต การต่ออายุ ใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต การออกใบรับรอง และการออกใบแทนตามพระราชบัญญัตินี้
 (13) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงาน ผู้ดำเนินการ ผู้ครอบครองอาคาร และเจ้าของอาคาร
 (14) คุณสมบัติเฉพาะและลักษณะต้องห้ามของผู้ตรวจสอบ ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ
 (15) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจสอบอาคาร ติดตั้งและ ตรวจสอบอุปกรณ์ประกอบของอาคาร
 (16) ชนิดหรือประเภทของอาคารที่เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือผู้ดำเนินการต้องทำการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน " ของบุคคลภายนอก"
 
มาตรา 9 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น มาตรา 8ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
 " มาตรา 8ทวิ เพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยของประชาชน ให้รัฐมนตรี " โดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารมี อำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือลักษณะของสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการขนส่งบุคคลในบริเวณใดในลักษณะกระเช้าไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นใดที่สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน หรือออกกฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือลักษณะของสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องเล่นในสวนสนุกหรือในสถานที่อื่นใดเพื่อ ประโยชน์ในลักษณะเดียวกันเป็นอาคารตามพระราชบัญญัตินี้
 กฎกระทรวงตามวรรคหนึ่งต้องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการก่อสร้าง การอนุญาตให้ใช้ การตรวจสอบ มาตรฐานการรับน้ำหนัก ความปลอดภัย และคุณสมบัติของวัสดุหรืออุปกรณ์ที่จำเป็นเกี่ยวเนื่องกับสิ่งนั้น ทั้งนี้ ตามความเหมาะสม ของสิ่งที่สร้างขึ้นแต่ละประเภทหรือแต่ละลักษณะ โดยอาจกำหนดให้แตกต่างจากบทบัญญัติ " ของพระราชบัญญัตินี้ได้"
 

 มาตรา 10 ให้ยกเลิกความใน (3) และ (4) ของ มาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 "(3) ให้คำปรึกษาแนะนำแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือส่วนราชการในการ " ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
 "(4) กำกับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานท้องถิ่น " และผู้ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้"
 
มาตรา 11 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) และ (6) ของ มาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
 "(5) รับขึ้นทะเบียนและเพิกถอนการ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ "
 "(6) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้"
 
มาตรา 12 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 " มาตรา 20 ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการควบคุมอาคารขึ้นใน กรมโยธาธิการ มีหน้าที่ดังนี้
 (1) ปฏิบัติงานธุรการและงานวิชาการให้แก่คณะกรรมการควบคุมอาคาร
 (2) ปฏิบัติงานธุรการ ตรวจสอบข้อเท็จจริง และเสนอความเห็นแก่ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
 (3) ประสานงานและให้ความช่วยเหลือแก่ราชการส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ตลอดจนให้คำแนะนำแก่ภาคเอกชน
 (4) ปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการควบคุมอาคารมอบหมาย"
 
มาตรา 13 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น มาตรา 21ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
 " มาตรา 21ทวิ การก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารชนิดหรือ ประเภทที่กฎกระทรวงกำหนดให้มี การตรวจสอบงานออกแบบและคำนวณส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร ผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้แจ้งตาม มาตรา
39ทวิ ต้องจัดให้มีการ ตรวจสอบงานออกแบบ และคำนวณดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดใน กฎกระทรวง"
 
มาตรา 14 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 " มาตรา 28 ในกรณีที่แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการ คำนวณที่ได้ยื่นมาพร้อมกับคำขอรับใบอนุญาตกระทำโดย ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบ วิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณา แต่เฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับรายการคำนวณ"
 
มาตรา 15 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น มาตรา 28ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
 " มาตรา 28ทวิ ในกรณีที่แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และ รายละเอียดด้านสถาปัตยกรรมของอาคารซึ่งไม่เป็น อาคารประเภทควบคุมการใช้ที่ได้ยื่นมา พร้อมกับคำขอรับใบอนุญาตกระทำโดยผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยสถาปนิก ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาแต่เฉพาะในส่วน ที่ไม่เกี่ยวกับรายละเอียดด้านสถาปัตยกรรมส่วนภายในอาคาร เว้นแต่ทางหนีไฟและบันได หนีไฟ"
 
มาตรา 16 ให้ยกเลิกความใน (1) ของ มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 "(1) อาคารสำหรับใช้เป็นคลังสินค้า โรงแรม อาคารชุด หรือสถานพยาบาล" 
มาตรา 17 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น มาตรา 32ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
 " มาตรา 32ทวิ เจ้าของอาคาร ดังต่อไปนี้ "
 (1) อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ
 (2) อาคารชุมนุมคน
 (3) อาคารตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบด้านวิศวกรรมหรือผู้ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรม แล้วแต่กรณี ทำการตรวจสอบสภาพอาคาร โครงสร้างของตัวอาคาร อุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า และการจัดแสงสว่าง ระบบการเตือน การป้องกันและการระงับอัคคีภัย การป้องกัน อันตรายเมื่อมีเหตุชุลมุนวุ่นวาย ระบบระบายอากาศ ระบบระบายน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบเครื่องกล หรือระบบอื่น ๆ ของอาคารที่จำเป็นต่อการป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ที่มีผลต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน แล้วรายงานผลการตรวจสอบต่อเจ้าพนักงาน ท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาผลการตรวจสอบสภาพอาคารตามวรรคหนึ่ง โดยมิชักช้า เพื่อพิจารณาออกใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคารหรือดำเนินการตาม " มาตรา
46 หรือ มาตรา 46ทวิ แล้วแต่กรณี ต่อไป"
 
มาตรา 18 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 " มาตรา 37 ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตตาม มาตรา
21 มาตรา 22 หรือ มาตรา 33 ตาย ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของบุคคลดังกล่าวซึ่งประสงค์จะทำการ ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารนั้นต่อไป ต้องมีหนังสือ แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเก้าสิบวันนับ แต่วันที่ผู้ได้รับใบอนุญาตตาย ในกรณี เช่นว่านี้ให้ถือว่าทายาทหรือผู้จัดการมรดกดังกล่าวเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตนั้นแทน"
 
มาตรา 19 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 3ทวิ การอนุญาตให้ใช้อาคาร
เพื่อประกอบกิจการเกี่ยวกับโรงมหรสพ มาตรา
39จัตวา มาตรา 39เบญจ และ มาตรา 39ฉ แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

"หมวด 3ทวิ " การอนุญาตให้ใช้อาคารเพื่อประกอบกิจการเกี่ยวกับโรงมหรสพ

 " มาตรา 39จัตวา การก่อสร้าง ดัดแปลง เคลื่อนย้าย รื้อถอน หรือตรวจสอบอาคารที่ใช้เพื่อประกอบกิจการโรงมหรสพ ต้องดำเนินการให้เป็นไป ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ด้วย
 " มาตรา 39เบญจ ห้ามมิให้เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารใช้ หรือยินยอมให้ผู้ใดใช้อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นโรงมหรสพ เว้นแต่จะได้รับ ใบอนุญาตให้ใช้อาคารเพื่อประกอบกิจการโรงมหรสพจากคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณา ตามวรรคสอง แล้วแต่กรณี
 ให้มีคณะกรรมการพิจารณาการประกอบกิจการ โรงมหรสพมีอำนาจพิจารณา ออกใบอนุญาต เพิกถอนใบอนุญาต ต่ออายุใบอนุญาต โอนใบอนุญาต และออกใบแทน ใบอนุญาตเพื่อประกอบกิจการโรงมหรสพ ดังต่อไปนี้
 (1) ในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยอธิบดีกรมโยธาธิการเป็น ประธานกรรมการ ผู้แทนกรุงเทพมหานคร ผู้แทนกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการ และให้ผู้อำนวยการกองควบคุมการก่อสร้าง กรมโยธาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
 (2) ในเขตจังหวัดอื่น ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน กรรมการ เจ้าพนักงานท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่เกี่ยวข้อง สาธารณสุขจังหวัด หัวหน้าตำรวจ ภูธรจังหวัดเป็นกรรมการ และให้โยธาธิการจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ
 ในการวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก และให้ประธาน คณะกรรมการพิจารณาการประกอบกิจการโรงมหรสพตามวรรคสองแล้วแต่กรณีเป็นผู้มี อำนาจลงนามออกใบอนุญาต เพิกถอนใบอนุญาต ต่ออายุใบอนุญาต โอนใบอนุญาต และออกใบแทนใบอนุญาตตามวรรคสอง
 ประเภทของโรงมหรสพ ระบบความปลอดภัย และการป้องกันอันตรายอันอาจ เกิดขึ้นกับคนดู และจำนวนและระยะห่างของสิ่งของหรือส่วนต่าง ๆ ภายในและภายนอก อาคารที่ใช้เป็นโรงมหรสพ เช่น ห้องฉาย ทางเข้าออก ประตู ที่นั่งคนดู ทางเดิน เป็นต้น ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
 " มาตรา 39ฉ ใบอนุญาตให้ใช้อาคารเพื่อประกอบกิจการโรงมหรสพให้มี อายุสองปี โดยให้ใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่สองนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต
 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต การต่ออายุ ใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตสำหรับโรงมหรสพ ให้เป็นไป ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
 เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารผู้ใด ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ใช้อาคารเพื่อประกอบกิจการโรงมหรสพ ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนใบอนุญาตเดิม สิ้นอายุ และเมื่อได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้วให้ประกอบกิจการ ต่อไปได้จนกว่าผู้มีอำนาจอนุญาต ตาม มาตรา
39เบญจ จะมีคำสั่งไม่อนุญาต"
 
มาตรา 20 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น มาตรา 46ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
 " มาตรา 46ทวิ ในกรณีที่อุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าและ " การจัดแสงสว่าง ระบบการเตือน การป้องกันและการระงับอัคคีภัย การป้องกันอันตราย เมื่อมีเหตุชุลมุนวุ่นวาย ระบบระบายอากาศ ระบบระบายน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบ เครื่องกล หรือระบบอื่น ๆ ของอาคารตาม มาตรา
32ทวิ มีสภาพหรือมีการใช้ที่อาจเป็น ภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรืออาจไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัย หรือก่อ ให้เกิดเหตุรำคาญหรือกระทบกระเทือนต่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้เจ้าพนักงาน ท้องถิ่นมีอำนาจดังนี้
 (1) มีคำสั่งห้ามมิให้เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคาร ใช้หรือยินยอม ให้บุคคลใดใช้อุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ และจัดให้มีเครื่องหมายแสดงการห้ามนั้นไว้ที่อุปกรณ์ หรือบริเวณที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายที่อยู่ใกล้กับอุปกรณ์นั้น
 (2) มีคำสั่งให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไขอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ นั้น ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยหรือสามารถใช้งานได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่า สามสิบวัน ในกรณีมีเหตุอันสมควรเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไป อีกก็ได้
 ในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง และหากอุปกรณ์ดังกล่าวมีผลทำให้อาคารนั้นมีสภาพหรือการใช้ที่อาจเป็นภยันตรายอย่าง ร้ายแรงต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งห้ามใช้อาคารนั้น ทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนก็ได้ และต้องจัดให้มีเครื่องหมายแสดงการห้ามนั้นไว้ในที่ เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ บริเวณอาคารหรือบริเวณดังกล่าว"
 
มาตรา 21 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 " มาตรา 49 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงาน " ส่วนท้องถิ่นซึ่งมีความรู้หรือคุณวุฒิตามที่กำหนด ในกฎกระทรวงให้เป็นนายตรวจหรือนายช่างได้
 ในกรณีที่มีความจำเป็นหรือได้รับการร้องขอจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อธิบดี กรมโยธาธิการ มีอำนาจแต่งตั้งวิศวกรหรือสถาปนิกเป็นนายช่างได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด " ในกฎกระทรวง"
 
มาตรา 22 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 49ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 " มาตรา 49ทวิ ในกรณีที่มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้าย อาคารโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตาม พระราชบัญญัตินี้ และเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ดำเนินการตาม มาตรา
40 มาตรา 41 หรือ มาตรา 42 แล้วแต่กรณี แต่มิได้มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น และมี เหตุอันควรสงสัยว่าผู้รับผิดชอบงานออกแบบและคำนวณอาคาร หรือผู้รับผิดชอบงาน ออกแบบอาคาร หรือผู้ควบคุมงาน อาจเป็นผู้กระทำหรือมีส่วนร่วมในการกระทำดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้บุคคลเช่นว่านั้นทราบ และให้มีหนังสือแสดงหลักฐานภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นการกระทำของผู้อื่น หากไม่สามารถพิสูจน์
ได้ว่าเป็นการกระทำของผู้อื่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการแจ้งชื่อและการกระทำ ของบุคคลเช่นว่านั้นให้คณะกรรมการควบคุมอาคารทราบและให้แจ้งสภาวิศวกรและ สภาสถาปนิกทราบเพื่อพิจารณาดำเนิน การตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรและกฎหมายว่าด้วย สถาปนิก"
 
มาตรา 23 ให้ยกเลิกความใน (2) ของ มาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 "(2) ในเขตเทศบาล เขตเมืองพัทยา หรือเขตราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้า ที่ทำการอัยการจังหวัด และบุคคลอื่นอีกไม่เกินหกคนซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้แต่งตั้ง ในจำนวนนี้ให้แต่งตั้งจากภาคเอกชนไม่น้อยกว่าสองคนเป็นกรรมการ และให้โยธาธิการ จังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ"
 
มาตรา 24 ให้ยกเลิกความซึ่งเป็นชื่อของหมวด 6 แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"หมวด 6 " นายช่าง นายตรวจ และผู้ตรวจสอบ"

 
มาตรา 25 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น มาตรา 55ทวิ และ มาตรา 55ตรี แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
 " มาตรา 55ทวิ ห้ามมิให้ผู้ใดทำการตรวจสอบตาม มาตรา
32ทวิ เว้นแต่ ผู้นั้นเป็นผู้ตรวจสอบตามพระราชบัญญัตินี้
 " มาตรา 55ตรี ในกรณีที่ผู้ตรวจสอบทำการตรวจสอบอาคารตาม มาตรา
32ทวิ โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตาม พระราชบัญญัตินี้ให้นำ มาตรา 49ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม"
 
มาตรา 26 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น มาตรา 65ทวิ มาตรา 65ตรี และ มาตรา 65จัตวา แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
 " มาตรา 65ทวิ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา
32ทวิ ต้องระวางโทษจำคุก " ไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ไม่ปฏิบัติตาม มาตรา
32ทวิ ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
 " มาตรา 65ตรี ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา
39เบญจ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 นอกจากระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืน มาตรา
39เบญจ วรรคหนึ่ง ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
 " มาตรา 65จัตวา ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตาม มาตรา
46ทวิ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
 นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา
46ทวิ ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินห้าพันบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติ " ให้ถูกต้อง"
 
มาตรา 27 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 " มาตรา 74 ให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบคดี "
 (1) ในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
 (2) ในเขตจังหวัดอื่นประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด อัยการจังหวัด ซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด และหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด
 ความผิดตาม มาตรา
65 วรรคหนึ่ง มาตรา 65ทวิ วรรคหนึ่ง มาตรา 65ตรี วรรคหนึ่ง มาตรา 65จัตวา วรรคหนึ่ง มาตรา 66 มาตรา 66ทวิ วรรคหนึ่ง มาตรา 67 วรรคหนึ่ง มาตรา 68 มาตรา 69 หรือ มาตรา 70 ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีมีอำนาจ เปรียบเทียบได้
 ในกรณีที่พนักงานสอบสวนพบว่าผู้ใดกระทำความผิดตามวรรคสอง ถ้าผู้กระทำ ความผิดดังกล่าวและผู้เสียหาย ถ้ามี ยินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้ คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีตามวรรคหนึ่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้นั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ
 ถ้าคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรถูกฟ้องร้องหรือได้รับ โทษถึงจำคุก ให้กำหนดค่าปรับซึ่งผู้ต้องหาจะพึงชำระ ถ้าผู้ต้องหาและผู้เสียหาย ถ้ามี ยินยอมตามนั้น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ ให้ถือว่าคดีเลิกกัน ตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
 ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบหรือยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับ ภายในเวลาตามวรรคสี่ ให้ดำเนินคดีต่อไป
 ค่าปรับที่เปรียบเทียบตามพระราชบัญญัตินี้ให้ตกเป็นของราชการส่วนท้องถิ่น " โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน"
 
มาตรา 28 ให้ยกเ
โพสเมื่อ : 2018-09-28
TAG :