แนวคิดและคำนิยาม
1) หอพัก
หมายถึง สถานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับผู้พักตามพระราชบัญญัติหอพัก
พ.ศ. 2507 ซึ่งได้แก่
หอพักเอกชนที่รับนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษา
เข้าพักตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป และนักเรียน นิสิต
นักศึกษาในที่นี้
หมายความรวมถึงนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษา
ในโรงเรียนเอกชนที่สอนวิชาเสริมสวย วิชาช่างกล วิชาตัดเย็บเสื้อผ้าหรือวิชาชีพอย่างอื่นซึ่งได้รับอนุญาตจัดตั้งตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์
พ.ศ. 2525 ด้วย
อย่างไรก็ดี หอพักที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหอพักดังกล่าวข้างต้นนี้
นอกจากจะรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาเข้าพักแล้ว
ยังอาจมีบุคคลในอาชีพอื่นเข้าพักอยู่ด้วยก็ได้
หอพัก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
คือ หอพักชาย และหอพักหญิง
2) ลักษณะของอาคาร
หมายถึง
ลักษณะของสถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการหอพัก จำแนกได้ดังนี้
ก. ตึก/บ้านโดด
หมายถึง ตึก/บ้านที่ปลูกอยู่หลังเดียวโดด ๆ หรือ
ตึก/บ้านที่ปลูกอยู่หลายหลังภายใน
บริเวณรั้วเดียวกันก็ถือว่าตึก/บ้านแต่ละหลังมีลักษณะของอาคารอยู่ในลักษณะนี้
ข. ตึกแถว
ห้องแถว เรือนแถวไม้
หมายถึง ตึก ห้องหรือเรือนไม้ที่ปลูกเรียงติดกันเป็นแถวโดยมีฝาร่วมกันด้านหนึ่งหรือ
สองด้านขึ้นไป อาจจะเป็นชั้นเดียวหรือหลายชั้นก็ได้
ค. อาคารลักษณะอื่นๆ
หมายถึง ลักษณะอาคารที่ไม่ได้จัดเข้าอยู่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
3) ลักษณะการครอบครองอาคาร จำแนกเป็น 4 ประเภท คือ
ก. เป็นเจ้าของ
หมายถึง มีกรรมสิทธิ์ในอาคารโดยถูกต้องตามกฏหมาย
ข. เช่าซื้อ
หมายถึง การซื้ออาคารโดยผ่อนชำระเป็นรายเดือน หรือเป็นงวดตามสัญญาที่ตกลงกัน
เมื่อชำระเงินครบจึงจะได้กรรมสิทธิ์ในอาคารนั้น
ค. เช่า
หมายถึง ผู้ครอบครอบไม่ได้เป็นเจ้าของอาคาร และต้องเสียค่าตอบแทนให้แก่เจ้าของ
อาคารตามสัญญาเช่า
ง. การครอบครองในลักษณะอื่น
ๆ
หมายถึง การครอบครองโดยวิธีอื่นนอกจากที่ระบุไว้ข้างต้น
เช่น ผู้เป็นเจ้าของอาคารอนุญาตให้ใช้อาคารโดยไม่ต้องจ่ายค่าเช่า เป็นต้น
4) รูปแบบการจัดตั้งตามกฏหมาย จำแนกออกเป็น 4 ประเภท คือ
ก. ส่วนบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนที่ไม่เป็นนิติบุคคล
หมายถึง สถานประกอบการหอพักที่มีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียว
หรือหลายคน
รวมกัน และให้หมายรวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลด้วย
ข. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
หมายถึง สถานประกอบการหอพักที่จัดตั้งขึ้นโดยคณะบุคคลตั้งแต่
2 คนขึ้นไปรวมทุน
กันเพื่อประกอบธุรกิจและมีความรับผิดชอบร่วมกัน โดยการจดทะเบียนตามกฏหมาย
ค. บริษัทจำกัด
หมายถึง สถานประกอบการหอพักที่จัดตั้งขึ้นโดยผู้ริเริ่มคณะหนึ่ง
และได้จดทะเบียนถูก
ต้องตามกฏหมาย โดยต้องมีผู้ริเริ่มก่อการ
ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป
ง. รูปแบบอื่น ๆ
หมายถึง รูปแบบการจัดตั้งตามกฏหมายในลักษณะอื่น
ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว
เช่น จัดในรูปสมาคมหรือสโมสร
ซึ่งจะต้องจดเบียนก่อตั้ง โดยมีผู้ก่อตั้งอย่างน้อย 3 คน
5) ครุภัณฑ์
หมายถึง เครื่องใช้ที่ถาวรภายในห้องพัก เช่น
เครื่องปรับอากาศ พัดลม ตู้เก็บสิ่งของ ตู้เสื้อผ้า
โต๊ะ เก้าอี้ สำหรับเขียนหนังสือ เตียงนอน ฯลฯ
6) คนทำงาน
หมายถึง ผู้ที่ทำงานในสถานประกอบการหรือทำงานให้กับสถานประกอบการ
รวมทั้งเจ้าของหรือ
หุ้นส่วนที่ทำงานให้กับสถานประกอบการ
ผู้ช่วยธุรกิจ คนทำงานของสถานประกอบการที่ออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ ไม่รวม ผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นที่ได้รับเบี้ยประชุมเป็นครั้งคราวคนทำงานของสถานประกอบการอื่นที่มาปฏิบัติงานประจำที่สถานประกอบการแห่งนี้
คนทำงานแบ่งออกเป็น
ก. คนทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง
เงินเดือน
หมายถึง เจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วนที่ทำงานให้สถานประกอบการ
โดยไม่ได้รับค่าจ้าง
เงินเดือน
ผู้ที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนของเจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วน หรือบุคคลอื่นที่ทำงานให้กับสถานประกอบการอย่างน้อยสัปดาห์ละ
20 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับค่าจ้าง เงินเดือนเป็นประจำ
ข. ลูกจ้าง
หมายถึง ลูกจ้างประจำหรือลูกจ้างชั่วคราวของกิจการหอพัก
ได้แก่ คนที่ทำงานให้โดย
ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำ โดยค่าจ้างที่ได้รับอาจเป็นค่าจ้างรายวัน
รายชั่วโมง รายเดือน
7) ค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการหอพัก
หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายตั้งแต่วันที่
1 มกราคม – 31 ธันวาคม
2542 เช่น
ก. ค่าจ้าง
เงินเดือน
หมายถึง เงินที่นายจ้างหรือสถานประกอบการจ่ายให้ลูกจ้าง
ในระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม 2542 (ก่อนหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินสมทบกองทุนประกันสังคมในส่วนที่ลูกจ้างต้องจ่าย ค่าประกันชีวิต และรายจ่ายอื่น
ของลูกจ้าง) ตามข้อตากลงการจ้างแรงงาน โดยอาจจ่ายตามเงื่อนไขของระยะเวลาหรือจ่ายตามปริมาณงาน
ทั้งนี้ ไม่รวมค่าล่วงเวลา โบนัส เงินรางวัลพิเศษ เงินเพื่อค่าครองชีพ ค่านายหน้า สวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทนอื่น
ๆ
ข. ค่าบริการ
เบี้ยเลี้ยง โบนัส ค่าล่วงเวลา
หมายถึง เงินนอกเหนือจากค่าจ้าง เงินเดือนที่สถานประกอบการจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน
นอกเหนือจากการทำงานในเวลาปกติ
ค. เงินที่สถานประกอบการจ่ายสมทบเข้ากองทุนเพื่อการประกันสังคม
หมายถึง เงินที่สถานประกอบการจ่ายสมทบเข้ากองทุนเพื่อการประกันสังคม
ทั้งของรัฐบาลและเอกชน เพื่อมิให้ลูกจ้างได้รับความเดือนร้อนเมื่อต้องขายรายได้ไปบางส่วน
หรือทั้งหมดอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วย หรือประสบอันตรายทั้งในและนอกเวลาทำงาน การคลอดบุตร
ทุพพลภาพ การว่างงาน ชราภาพ และเสียชีวิต เงินดังกล่าว ได้แก่ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
กองทุนเงินทดแทน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น
ง. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต
หมายถึง ค่าธรรมเนียมที่ผู้ประกอบการหอพักจ่ายให้แก่นายทะเบียนท้องที่
เพื่อเป็นค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2504 ได้แก่
ค่าใบขออนุญาตให้ตั้งหอพัก ให้เป็นผู้จัดการหอพัก หรือการต่ออายุใบอนุญาตต่าง ๆ
ค่าภาษีอื่น ๆ(ไม่รวมภาษีเงินนิติบุคคล)
หมายถึง เงินภาษีที่เกิดขึ้นในการจัดซื้อ
หรือประกอบธุรกิจ เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีโรงเรือนและทิ่ดิน ภาษีป้าย
ค่าธรรมเนียม อากรแสตมป์ต่าง ๆ ฯลฯ
8) รายรับในการประกอบกิจการหอพัก
หมายถึง รายรับที่ได้รับจากการดำเนินกิจการตั้งแต่วันที่
1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2542
จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ
ก. รายรับจากการให้เช่าหอพัก
หมายถึง จำนวนเงินทั้งสิ้นที่ได้จากการให้เช่าห้องพัก
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31
ธันวาคม 2542
ข. รายรับอื่น ๆ
หมายถึง รายรับที่ได้จากการดำเนินกิจการหอพักนอกเหนือจากการให้เช่าหอพัก
เช่น
รายรับจากการให้เช่าที่ดิน
รายรับจากการให้เช่าอาคารพร้อมที่ดิน เงินปันผล ดอกเบี้ยรับ เป็นต้น
9) สินทรัพย์ถาวร
หมายถึง สินทรัพย์ที่ปกติมีอายุการใช้งานมากกว่า
1 ปีขึ้นไป เช่น ที่ดิน อาคาร สิ่งก่อสร้าง เครื่อง
จักร ยานพาหนะ เป็นต้น รวมถึงส่วนเพิ่มเติม
ดัดแปลง ปรับปรุง เพื่อยืดอายุการใช้งานหรือเพิ่มประสิทธิภาพ
สินทรัพย์ถาวร แบ่งออกเป็น
- ที่ดิน
- อาคารและสิ่งก่อสร้าง
- เครื่องจักรและอุปกรณ์ ฯลฯ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เครื่องมือที่ใช้ในงานโลหะ หรือ
เหมืองแร่ เครื่องมือก่อสร้าง เครื่องมือที่ใช้ในการอุตสาหกรรม
เช่น รถเครน เครื่องยก และอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
- เครื่องใช้สำนักงาน ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งสำนักงาน
เป็นต้น
- ยานพาหนะ ได้แก่ รถยนต์ แทรกเตอร์ รถเข็น เป็นต้น
- สินทรัพย์ถาวรอื่น ๆ เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร
ฯลฯ
10) ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร
หมายถึง มูลค่าที่เสื่อมสิ้นไปของสินทรัพย์ถาวรตามระยะเวลาการใช้งานในงวดบัญชีปี
2542
11) มูลค่าสินทรัพย์ถาวรใหม่หรือที่ผลิตขึ้นใช้เองระหว่างปี
หมายถึง มูลค่าซื้อสินทรัพย์ถาวรที่ยังไม่เคยใช้งานในประเทศมาก่อน
ซื้อมาเพิ่มเติมระหว่าง
มกราคม – ธันวาคม 2542
สินทรัพย์ถาวรที่เพิ่มนำเข้ามาในประเทศ
ไม่ว่าจะผ่านการใช้งานมาแล้วหรือไม่ก็ตาม และรวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ใช้ในการสร้าง
หรือผลิตสินทรัพย์ถาวรขึ้นเพื่อใช้งานในสถานประกอบการ และที่ใช้ในการซ่อมแซมใหญ่ ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
หรือยืดอายุการใช้งานของสินทรัพย์สินถาวรนั้น ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ได้แก่ ค่าแรงงาน
ค่าวัสดุ เป็นต้น
12) มูลค่าซื้อสินทรัพย์ถาวรที่ใช้แล้วระหว่างปี
หมายถึง มูลค่าซื้อสินทรัพย์ถาวร
ซึ่งเคยถูกใช้ภายในประเทศมาแล้ว ก่อนที่สถานประกอบการ
จะซื้อมาในช่วง มกราคม – ธันวาคม
2542
13) มูลค่าขายสินทรัพย์ถาวรที่ใช้แล้วระหว่างปี
หมายถึง มูลค่าขายสินทรัพย์ถาวรที่ขายไประหว่างมกราคม-ธันวาคม
2542 รวมถึงมูลค่าสิน
ทรัพย์ถาวรที่ใช้แล้วและได้นำไปแลกเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ใหม่
โดยการจ่ายเงินเพิ่มขึ้นโดยให้ถือว่าราคาสินทรัพย์เดิม คือมูลค่าขายสินทรัพย์ถาวรที่ใช้แล้ว
ราคาสินทรัพย์เดิมบวกจำนวนเงินที่จ่ายเพิ่มเป็นมูลค่าซื้อสินทรัพย์ถาวรที่สถานประกอบการซื้อมาเพิ่ม
14) ค่าโอนกรรมสิทธิ์
หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการโอนสิทธิครอบครองสินทรัพย์
ระหว่างเจ้าของสินทรัพย์นั้นให้กับ
บุคคลอื่น
15) ส่วนเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสินทรัพย์ถาวร
คำนวณโดย : มูลค่าซื้อสินทรัพย์ถาวร +
ค่าโอนกรรมสิทธิ์ - มูลค่าขายสินทรัพย์ถาวร